วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555



 การสืบค้นข้อมูล

ความหมายของเครื่องช่วยค้นหา(Search Engines) คือ เครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลและข่าวสาร ที่อยู่ของเว็บไซต์ (Address) ต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากปัจจุบันการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาไปค่อนข้างมาก และโดยการใช้งานที่สะดวกขึ้น ทำให้เว็บที่เป็นแหล่งรวมข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นอย่างมากมายมหาศาล
ประเภทของเครื่องช่วยค้นหา (Search Engines)
อินเด็กเซอร์ (Indexers)
Search Engines แบบอินเด็กเซอร์จะมีโปรแกรมช่วยจัดการหาข้อมูลในการค้นหา หรือที่เรียกว่า Robot วิ่งไปมาในอินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ เพื่ออ่านข้อมูลจากเว็บเพจ (Web Pages) ต่าง ๆ ทั่วโลกมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลไว้ โดยจะใช้ตัวอินเด็กซ์ (Index) ค้นหาจากข้อความในเว็บเพจที่ได้สำรวจมาแล้ว
ตัวอย่างของเว็บไซด์ที่ให้บริการตามแบบอินเด็กเซอร์
- http://www.altavista.com - http://www.excite.com
- http://www.hotbot.com - http://www.magellan.com
- http://www.webcrawler.com
ไดเร็กทอรี (Directories) Search Engines
แบบไดเร็กทอรีจะใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับเป็นแค็ตตาล็อกสินค้า (Catalog) เราสามารถเลือกจากหมวดหมู่ใหญ่ แล้วเลือกดูหมวดหมู่ย่อย ๆ ลงไปเรื่อย ๆ จนพบกับข้อมูลที่ต้องการ โดยจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่ง URL และรายละเอียดเกี่ยวกับ URL นั้น ๆ ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์เนื้อหาของแต่ละเว็บเพจว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร
ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่ให้บริการด้วยไดเร็กทอรี
-http://www.yahoo.com - http://www.lycos.com
- http://www.looksmart.com - http://www.galaxy.com
- http://www.askjeeves.com - http://www.siamguru.com
เมตะเสิร์ช (Metasearch)
Search Engines แบบเมตะเสิร์ชจะใช้หลาย ๆ วิธีการมาช่วยในการค้นหาข้อมูล โดยจะรับคำสั่งค้นหาจากเรา แล้วส่งต่อไปยังเว็บไซต์ที่เป็น Search Engines หลาย ๆ แห่งพร้อม ๆ กัน ทำให้เราสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ Search Engines ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นก็จะสรุปแสดงผลลัพธ์ออกมา
ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่ให้บริการด้วยเมตะเสิร์ช
- http://www.dogpile.com
- http://www.profusion.com
- http://www.metacrawler.com
- http://www.highway61.com
- http://www.thaifind.com
เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยม
Yahoo
เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบไดเร็กทอรี่
เป็นรายแรกในอินเทอร์เน็ต และเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานสูงสุดในปัจจุบัน เพราะมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ และผู้ใช้บริการมีโอกาสที่จะได้รับข้อมูลตรงกับความต้องการสูง การใช้งาน Yahoo แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การค้นหาในแบบเมนู และการค้นหาแบบวิธีระบุคำที่ต้องการค้นหา
Altavista
เป็น Search Engines ของบริษัท Digital Equipment Corp. หรือ DEC ซึ่งมีฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก และมีโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาที่มีความสามารถสูงเป็นจุดเด่น โดยมีเว็บเพจอินเด็กซ์ (Indexed Web Pages) เป็นจำนวนมากกว่า 150 ล้านเว็บเพจที่เราสามารถใช้ในการค้นหาข้อมูล
Excite
เป็น Search Engines ที่มีจำนวนไซต์ (site) ในคลังข้อมูลมากที่สุดตัวหนึ่งและสามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นคำหรือความหมายของคำได้ โดยจะทำการค้นหาข้อมูลจาก World Wide Web และ Newsgroups เป็นหลัก จากการที่ excite มีข้อมูลในคลังข้อมูลเป็นจำนวนมาก ทำให้ผลลัพธ์ในการค้นหาข้อมูลที่ได้มีเป็นจำนวนมากตามไปด้วย
Hotbot
เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยมอีกเว็บไซต์หนึ่ง มีจุดเด่นตรงที่สามารถกำหนดเงื่อนไขขั้นสูงได้ง่ายกว่าเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ
Go.com
เว็บไซต์ที่มีการนำเสนอข่าวทันเหตุการณ์ต่าง ๆ จากแหล่งข่าวต่าง ๆ เป็นจำนวนมากตลอดจนข่าวในด้านบันเทิง (Entertainment News) นอกจากนี้ยังมีการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ
Lycos
ฐานข้อมูลของ Lycos มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งมีคลังข้อมูลมากกว่า 1,500,000 ไซต์และมีเทคนิคในการค้นหาข้อมูลที่ดีมากด้วย โดยมีระบบการค้นหาข้อมูลที่รวดเร็วที่สามารถลงไปค้นหาข้อมูลจาก World Wide Web ได้ทุกรูปแบบจนถึงการค้นเป็นคำต่อคำ
Looksmart
เกิดขึ้นจากความคิดของชาวออสเตรเลีย 2 คนที่ไม่ประทับใจการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตสมัยนั้น โดยขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก Reader’s Digest ทั้งสองจึงลงมือสร้างเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่คำนึงถึงความใช้ง่ายให้เหมะกับทั้งมือใหม่และผู้ที่ชำนาญอินเทอร์เน็ต
WebCrawler
เป็นเว็บไซต์ที่มีคลังข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง การค้นหาข้อมูลของ WebCrawlerจะมีข้อจำกัดก็คือ ใช้ค้นหาข้อมูลที่เป็นวลีหรือข้อความทั้งข้อความไม่ได้ จะสามารถค้นหาข้อมูลได้เฉพาะที่เป็นคำ ๆ เท่านั้น
Dog pile
เป็นเว็บไซต์ประเภทเมตะเสิร์ชที่ใช้งานง่าย และค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยการพิมพ์คำที่เราต้องการค้นหาลงในช่องค้นหา และคลิกปุ่ม Fetch โดยผลลัพธ์ของการค้นหาจะถูกแสดงขึ้นมาบนจอภาพอย่างรวดเร็ว
Ask jeeves
เป็นเว็บไซต์น้องใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในอินเทอร์เน็ต โดยเราสามารถถามคำถามที่เราอยากรู้โดยพิมพ์คำถามลงไปในช่องกรอกข้อความ และคลิกปุ่ม Ask แล้ว Ask jeeves จะไปทำการค้นหาคำตอบ(Answer) จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ให้เรา
ProFusion
เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบ
เมตะเสิร์ช โดยค้นหาข้อมูลจาก Search Engines ที่ได้รับความนิยมถึง 9 แห่งด้วยกัน โดยเราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ Search Engines ใดในการค้นหาข้อมูลทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วและตรงกับความต้องการ
Siamguru.com
siamguru.com ภายใต้สมญานาม เสิร์ชฯ ไทยพันธุ์แท้” (Real Thai Search Engine) เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือค้นหาสำหรับคนไทยที่ดีที่สุดในประเทศไทย โดยให้บริการค้นหาข้อความแบบธรรมดาและแบบพิเศษ ค้นหาภาพ ค้นหาเพลง นักร้องต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีการค้นหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการค้นหาภาษาไทย ตลอดจนมีระบบการเก็บข้อมูลใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
การใช้งาน Search Engines
การระบุคำที่ต้องการค้นหาหรือใช้คีย์เวิร์ด Yahoo.com
การค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องป้อนข้อความที่ต้องการค้นหาหรือเรียกว่าคีย์เวิร์ด(Keyword) ลงไปในช่องสำหรับกำหนดการค้นหา ในเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูล
การค้นหาจากหมวดหมู่ (Directories)
ในปัจจุบันเว็บไซต์ประเภท ต่าง ๆ มักจะมีการค้นหาแบบระบุคำหรือใช้คีย์เวิร์ด และการค้นหาจากหมวดหมู่ควบคู่กันไป ซึ่งการค้นหาจากหมวดหมู่จะมีการแบ่งหัวข้อต่าง ๆ ออกเป็นหัวข้อหลัก และในแต่ละหัวข้อหลักก็ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยลงไปเรื่อย ๆ ผู้ใช้สามารถคลิกที่ลิงก์ ไปยังหัวข้อย่อยต่าง ๆ จนพบกับข้อมูลที่ต้องการ
เทคนิคในการค้นหาข้อมูล
เทคนิคสำคัญที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง
เทคนิคและวิธีการต้องการเท่านั้น ควรจะค้นหาคำที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันด้วยได้แก่
1. บีบประเด็นให้แคบลง เนื่องจากจำนวนข้อมูลที่มีมากมายในอินเทอร์เน็ตทำให้การค้นหาได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นจำนวนมาก
2. ใช้สิ่งที่เรียกว่าออปชัน (Option) เป็นตัวช่วยในการค้นหาข้อมูล ซึ่งเว็บไซต์ที่เป็น Search Engines ส่วนใหญ่จะมีให้อยู่แล้ว
3. อย่าค้นหาคำที่เรา 4. หลีกเลี่ยงการค้นหาคำที่เป็นคำเดี่ยว ๆ หรือมีตัวเลขปนอยู่ เช่น NT หรือ 3D แต่ถ้าต้องการค้นหาจริง ๆ จะต้องใส่เครื่องหมายคำพูดลงไปด้วย (“ ”)ที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตประสบความสำเร็จ ได้แก่
5. พวกกลุ่มคำ หรือวลี ก็ต้องใส่เครื่องหมายคำพูดลงไปเช่นเดียวกัน
6. หลีกเลี่ยงคำจำพวก Natural Language (ภาษาพูด)
7. ควรใช้สิ่งที่เรียกว่า Advanced Search หรือ Power Search เข้ามาช่วย เพราะจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของเรามากกว่าการค้นหาแบบธรรมดา
8. พยายามอย่าตั้งคำถามโดยมีคำนำหน้านาม (Articles) นำหน้าคำที่เราต้องการค้นหา เช่น การใช้ an หรือthe นำหน้า
9. ตรวจสอบข้อความหรือคำที่ต้องการค้นหาเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้พิมพ์หรือสะกดคำผิด
10. ถ้าผลลัพธ์ที่ได้จากคำถามครั้งแรกไม่ตรงกับความต้องการของเรา ให้ทดลองเปลี่ยนคำถามเล็กน้อย
11. คำที่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน (Synonym) ยกตัวอย่างเช่น คำว่า “Mother Board” เราสามารถใช้คำว่า “Main board” แทนได้
12. ถ้าคำถามของเรามีคำที่ต้องแยกจากัน เช่น คำว่า “Mother Board” เราจำเป็นต้องใช้เครื่องหมายอัญประกาศ หรือเครื่องหมายคำพูด (“ ”) เพราะจะทำให้ Search Engines มองรูปของคำว่า “Mother Board” เป็นข้อความเดียวกัน
13. ใช้ Help ให้เป็นประโยชน์ เพราะ Help เหล่านั้นจะมีเทคนิคหรือวิธีการของแต่ละ Search Engines ที่ช่วยแนะนำเทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถใช้ได้หรือไม่ได้บนเว็บ Search Engines นั้น ๆ และยังมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะช่วยให้เราได้รับความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาด้วย

การใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
การค้นกาข้อมูลโดย Internet Explorer
1.คลิกเม้าส์ที่ปุ่ม Search บนแถบเครื่องมือ
2.จะปรากฏหน้าต่าง Search ขึ้นมาทางด้านซ้ายของหน้าต่าง คลิกที่ปุ่ม Customize
3.จะปรากฏหน้าต่าง Customize Search Setting บนจอภาพ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามี Search Engines ต่าง ๆ ให้เราสามารถเลือกใช้ในการค้นหาข้อมูล
4.คลิกที่ปุ่ม OK
5.เลือกสิ่งที่ต้องการให้โปรแกรม Internet Explorer ค้นหา
6.กรอกข้อความ แล้วคลิกเม้าส์ที่ปุ่ม เพื่อเริ่มต้นการค้นหา
7.จะปรากฏรายชื่อเว็บไซต์ที่มีข้อมูลที่เราต้องการ เราสามารถคลิกเม้าส์ที่ชื่อเว็บไซต์เหล่านั้นได้ทันที

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

1. รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน

2. พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

3.การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

1.รูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน

เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถ จำแนกตามลักษณะการใช้งานได้เป็น  รูปแบบ ดังต่อไปนี้คือ

1) เทคโนโลยีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล  เช่น  ดาวเทียม  ถ่ายภาพทางอากาศ  กล้องดิจิทัล  กล้องถ่ายวิดีทัศน์  เครื่องเอกซเรย์

2) เทคโนโลยีที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล  เป็นสื่อบันทึกข้อมูลต่างๆ เช่น เทปแม่เหล็ก  จานแม่เหล็ก  จานแสง หรือ  จานเลเซอร์  บัตรเอทีเอ็ม

3)  เทคโนโลยีที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล  ได้แก่  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  และซอฟแวร์

4)  เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร  เช่น  เครื่องพิมพ์  จอภาพ  พล็อตเตอร์  ฯลฯ

5)  เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดทำสำเนาเอกสาร เช่น  เครื่องถ่ายเอกสาร  เครื่องถ่ายไมโครฟิล์ม

6)  เทคโนโลยีสำหรับถ่ายทอดหรือสื่อสารข้อมูลได้แก่  ระบบโทรคมนาคมต่างๆ  เช่น   โทรทัศน์  วิทยุกระจายเสียง  โทรเลข  เทเล็กซ์และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ทั้งระยะใกล้และระยะไกล

                ตัวอย่าง   การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในรูปแบบต่างๆ  ทั้งในทางธุรกิจ และทางการศึกษา  ดังตัวอย่างเช่น

                -ระบบเอทีเอ็ม

                -การบริการและการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต

                - การลงทะเบียนเรียน

2. พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                การแสดงออกทางความคิด  และความรู้สึกในการใช้รูปแบบของเทคโนโลยีทุกประเภท  ที่นำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดหา  จัดเก็บ  สร้าง  และเผยแพร่ สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ  ได้แก่  ภาพ  ข้อความ  หรือ  ตัวอักษร  ตัวเลข  และภาพเคลื่อนไหว  เป็นต้น

                การใช้อินเทอร์เน็ต

                งานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาพบว่า

                นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง  เนื่องจากเห็นว่ามีความสะดวกในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น  ในขณะที่การใช้อินเทอร์เน็ตของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา  ส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเรียนรู้  การติดตามข่าวสารของสถานศึกษา

                ใช้อินเตอร์เน็ตทำอะไรได้บ้าง ?

                งานวิจัยชี้ว่า  นักศึกษาใช้อินเทอร์เน็ตในการสนทนากับเพื่อนๆ และการค้นข้อมูลจากห้องสมุด

                นอกจากนี้งานวิจัยยังชี้ว่า  นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบต่างๆ  เพื่อเพิ่มพูนความรู้ และประกอบทำรายงานสถานที่ที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ งานวิจัยพบว่า  นักศึกษาส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์ที่บ้านและมีการใช้อินเตอร์เน็ตที่ห้องสมุดของสถาบัน

                นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศน้อยในรูปแบบไหนบ้าง?

                งานวิจัยชี้ว่า  นักศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้น้อยได้แก่  ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์  การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ  e-Learning  วิดิทัศน์ ตามอัธยาศัย  (Video  on  Demand)  หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

-   การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)

-    บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer  Assisted  Instruction-CAI) หรือ (Computer  Aided Instruction)

- วิดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video  on  Demand-VOD)

-หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books)

-ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)

-การเรียนรู้แบบออนไลน์ (e-Learning)

                เป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต  (Internet)  หรืออินทราเน็ต  (Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ตามความสามารถและความสนใจของตน  โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วยข้อความ  รูปภาพ  เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ  จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่านเว็บเบราว์เซอร์  (Web  Browser)  โดยผู้เรียน  ผู้สอน  และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน   สามารถติดต่อปรึกษา  แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

                โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อสื่อสารที่ทันสมัย  สำหรับทุกคนโดยผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา  และทุกสถานที่  (Learning   for  all :  anyone, anywhere  and  anytime)

                -บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer  Assisted  Instruction-CAI)

                คือบทเรียนคอมพิวเตอร์ซึ่งนำเสนอสารสนเทศ  ที่ได้ผ่านกระบวนการสร้าง และพิจารณามาเป็นอย่างดี  โดยมีเนื้อหาวิชาหรือสารสนเทศ แบบฝึกหัดการทดสอบ  และการให้ข้อมูลป้อนกลับให้ผู้เรียนได้ตอบสนองต่อบทเรียน  ได้ตามระดับความสามารถของตนเอง  เนื้อหาวิชาที่นำเสนอจะอยู่ในรูปมัลติมีเดีย  ซึ่งประกอบด้วย  อักษร  รูปภาพ  เสียง  และ/หรือทั้งภาพและเสียง  ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการนำหลักการเบื้องต้นทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาใช้ในการออกแบบ

                โดยอาศัยพฤติกรรมการเรียนรู้  (Learning  Behavior) ทฤษฎีการเสริมแรง (Reinforcement  Theory)ทฤษฎีการวางเงื่อนไขปฏิบัติ(Operant  Conditioning  Theory) ซึ่งถือว่าความสัมพันธ์ ระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองและการเสริมแรงเป็นสิ่งสำคัญโดยมีจุดมุ่งหมายนำผู้เรียนไปสู่การเรียนรู้  อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งอาศัยการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า  เป็นการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  และมีผลย้อนกลับทันทีและเรียนรู้ไปทีละขั้นตอนอย่างเหมาะสมตามความต้องการและความสามารถของตน

-วิดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video  on  Demand-VOD)

                คือระบบการเรียกดูภาพยนตร์ตามสั่งที่จะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกดูภาพยนตร์  หรือ  ข้อมูลภาพเคลื่อนไหวพร้อมเสียงได้ตามต้องการตามสโลแกนที่ว่า “ To  view  what one  wants, when  one  wants”. โดยสามารถใช้งานนี้ได้จากเครือข่ายสื่อสาร  (Telecommunications  Networks)  ผู้ใช้งานซึ่งอยู่หน้าเครื่องลูกข่าย (Video  Client) สามารถเรียกดูข้อมูลที่เป็นภาพเคลื่อนไหวได้ทุกเมื่อตามต้องการ  และสามารถควบคุมข้อมูล  วิดิโอ นั้นๆ โดยสามารถย้อนกลับ (Rewind) หรือกรอไปข้างหน้า (Forward) หรือหยุดชั่วคราว  (Pause) ได้ เปรียบเสมือนการดูวิดิโอที่บ้านนั่นเอง ทั้งนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายไม่จำเป็นต้องดูข้อมูลเดียวกัน กล่าวคือ  สามารถดูภาพยนตร์เรื่องเดียวกันหรือต่างกันก็ได้

-หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books)

                คือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถอ่านได้ทางอินเทอร์เน็ต  โดยมีเครื่องมือ  ที่จำเป็นในการอ่านหนังสือประเภทนี้คือ  ฮาร์ดแวร์ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่นๆ  พร้อมทั้งติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือ  ซอฟต์แวร์ที่ใช้อ่านข้อความต่างๆ  เช่น ออร์แกไนเซอร์ แบบพกพา  พีดีเอ    เป็นต้น

                ส่วนการดึงข้อมูล  e-Books  ซึ่งจะอยู่บนเว็บไซต์  ที่ทำให้บริการทางด้านนี้มาอ่านก็จะใช้วิธีการดาวน์โหลดผ่านทางอินเทอร์เน็ต  เป็นส่วนใหญ่ลักษณะไฟล์ของ  e-Books  หากนักเขียนหรือสำนักพิมพ์ต้องการสร้าง  e-Books  จะสามารถได้ รูปแบบคือ  Hyper  Text  Markup  Langrage  (HTML),Portable  Document  Format(PDF) ,  Peanut  Markup  Language  (PML)  และ  Extensive  Markup  Language (XML)

-ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Library)

                เป็นแหล่งความรู้ที่บันทึกข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์  แม่ข่ายและให้บริการ  สารสนเทศ  ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

 คุณลักษณะที่สำคัญของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์  มีดังนี้คือ

1.การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์

2.ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์

3.บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้  เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์

4.ความสามารถในการจัดเก็บรวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์


วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


สารสนเทศ



 สารสนเทศ หมายถึง ข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายองค์การต่างๆตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การ นั้นๆ



สารสนเทศตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information หมาย ถึงความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้าคว้าสารสนเทศ เป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ
 
สารสนเทศมีความหมายตามที่ได้การให้คำจำกัดความที่ใกล้เคียงกัน ดังนี้
สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลทั้งด้านปริมาณและด้านคุณภาพที่ประมวล จัดหมาดหมู่เปรียบเทียบ และวิเคราะห์แล้วสามารถนำมาใช้ได้ หรือนำมาประกอบการพิจารณาได้สะดวกกว่าและง่ายกว่า

เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
เทคโนโลยี สารสนเทศ หรือไอที (IT)เป็นเทคโนโลยีที่มีความสำคัญต่อสังคมในปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องกับการ จัดเก็บ การประมวลผลและการแสดงผลสารสนเทศ


 องค์ประกอบหลักของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย องค์ประกอบ หลัก 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม

  
1. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ จัดเป็นเทคโนโลยีหลักของเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งด้านการบันทึก การจัดเก็บ การประมวลผล การแสดงผล และการสืบค้นหาข้อมูลสารสนเทศเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แบ่งเป็นเทคโนโลยีย่อยที่ สำคัญได้ 2 ส่วน คือเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์และเทคโนโลยีซอฟท์แวร์




1. เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ทุกชนิดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเพื่องเชื่อมโยงจำแนกตามหน้าที่การทำงานออกเป็น 4 ส่วน คือ
(1)
หน่วยรับข้อมูล
(2)
หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู CPU: (Central Processing  Unit)
(3)
หน่วยแสดงผลข้อมูล (Output Unit)
(4)
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage Unit)


2. เทคโนโลยีซอฟท์แวร์ (Software)
หมายถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.)
ชอฟท์แวร์ระบบ(System Software) หรือชุดคำสั่งที่ทำหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ทำตามคำสั่ง

2.)ซอฟท์แวร์ประยุกต์ (Application Software) คือชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ส่งเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ


2.เทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกันทั่วไป เช่น ระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบเครือข่ายเคเบิล และระบบสื่อสารอื่นๆ ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกัน



ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
-
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่4 (2520-2524) การมีส่วนร่วมของสารสนเทศเพื่อการศึกษา
-
มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานและปฏิบัติการของระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษาขึ้น
-
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8ก็ได้มีการเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษามากขึ้น
-
ในแผนฯ 9 มีการจัดทำแผนหลักเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการจัดการศึกษา

 แผน พัฒนา ข้างต้นทำให้เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวงการศึกษาของประเทศไทยมากขึ้น จะทำให้การศึกษาของชาติมีความเท่าเทียมทั่วถึง มีคุณภาพ และมีความต่อเนื่อง ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยปะยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างคุ้มค่า

 พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ยุคที่ 1 (การประมวลผลข้อมูล) มีวัตถุประสงค์เพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลของรายการ ประจำ(Transaction Processing) เพื่อลดการใช้จ่ายด้านบุคลากร

 ยุคที่ 2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ ควบคุมดำเนินการ ติดตามและวิเคราะห์ผลงานของผู้บริหารระดับต่างๆ
 ยุคที่ 3 การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้สารสนเทศที่จะช่วยในการตัดสินใจนำหน่วยงานไปสู่ความสำเร็จ
 ยุค ที่ 4 ยุคปัจจุบัน หรือยุคเทคโนโลยีสารสนเทศมีการใช้คอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็น เครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ และเน้นความคิดของการให้บริการสารสนเทศแก่ผู้ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นวัตถุประสงค์สำคัญ

ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
1.
ให้ความรู้ ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
2.
ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
3.
ใช้ประกอบการตัดสินใจ
4.
ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
5.
เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ




สรุป
การ นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ประโยชน์ในวงการศึกษามีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากการแพร่กระจ่ายอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประเภท ต่างๆ เช่น ดาวเทียมสื่อสาร ใยแก้วนำแสง อินเทอร์เน็ต ก่อให้เกิดระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการบริหารงานในสถานศึกษาด้านต่างๆ เช่น ระบบบริหารจักการห้องสมุด และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษายังช่วยให้เกิดการลดความเหลื่อมล้ำของ โอกาสทางการศึกษาการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาพัฒนาบุคลากร ทางการศึกษาให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยี